ข่าวประชาสัมพันธ์


โครงการ การดูแลผู้ป่วยจากการที่มีความผิดปกตินอนหลับ (View:2946)

วันที่โพส 14/10/2021

ภาพข่าวสาร/กิจกรรม


หลักการและเหตุผล

คนเราใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตในการนอน ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจวัตรที่สำคัญ แต่ได้ถูกละเลย ซึ่ง อาจก่อให้เกิดโรคต่าง 1 ซึ่งมีสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติจากการนอนหลับ เช่น อาการนอนกรน นอน ไม่หลับ ง่วง/หลับในไม่เลือกเวลา-สถานที่ ตื่นนอนมีอาการมึนงงศีรษะ หยุดหายใจขณะหลับ นอนละเมอ ขา กระตุกขณะหลับ หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติขณะหลับ อาการเหล่านี้พบมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับความสนใจ อย่างกว้างขวาง ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อคนหา โรคซ่อนเร้น ซึ่งเป็นภัยเงียบที่อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อุดตัน หรือหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น งานตรวจระบบทางเดิน หายใจซึ่งมีทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งแพทย์ และพยาบาลพร้อมให้การดูแลผู้ป่วย แต่ยังขาดเครื่องมือ สถานที่ที่เอื้อต่อการตรวจการนอนหลับ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการตรวจ การทำโครงการการดูแลผู้ป่วยที่มีความ ผิดปกติจากการนอนหลับ จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพการให้บริการในการตรวจวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยที่มีความ ผิดปกติการนอนหลับ ยอดผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Obstructive sleep apnea ปี 2562 จำนวน 174 คน ปี 2563 จำนวน 112 คน ปี 2564 (6 เดือน) จำนวน 93 คน

ผู้ป่วยที่พิจารณาการตรวจการนอนหลับ ได้แก่ นอนกรน โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคอ้วน เป็นต้น

การเข้าถึงการตรวจ รักษาพยาบาลเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีตรวจในโรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร ซึ่ง ใช้ระยะเวลารอคิวการตรวจ ประมาณ 1 ปี ระยะในการตรวจ 1 คืน (8-12 ชั่วโมง) โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี จึงเห็นถึงความสำคัญของการตรวจรักษา แต่ยังไม่มีเครื่องมือตรวจการนอนหลับ (Polysomnography)

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการการตรวจวินิจฉัย การรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการนอนหลับ
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

เป้าหมายของโครงการ

ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เช่น มีอาการนอนกรน นอนไม่หลับ ตื่นนอนมีอาการมีนงงศีรษะ

หยุดหายใจขณะหลับ น่อ่นละเมอ ขากระตุกขณะหลับ โรคความดันโลหิตที่ไม่สามารถคุมความดันได้ เป็นต้น

 

 

กลวิธีดำเนินการ

  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการ
  3. ประชุมคณะกรรมการ กำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการ
  4. จัดหารายละเอียดครุภัณฑ์การแพทย์ พร้อมจัดหาสถานที่
  5. จัดทำระเบียบการคิดค่ารักษา การเบิกจ่ายในสิทธิการรักษาต่าง ๆ
  6. เสนอโครงการ/ขออนุมัติโครงการ

ระยะเวลาดำเนินการและสถานที่

ดำเนินการระหว่าง ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565 สถานที่ รอห้องที่เหมาะสม (ห้องพิเศษ)

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าเครื่องมือ/อุปกรณ์ ราคา 2 ล้าน แสนบาท
  2. ค่าอบรมเฉพาะทางการดูแลการตรวจการนอนหลับ 50,000 บาท
  3. ค่าตรวจการนอนหลับ 8,000-10,000 บาท

งบประมาณ

เงินบริจาคสโมสรโรตารี เพื่อสนับสนุนครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เครื่องตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) จำนวน 1 เครื่อง ราคา 2,500,000 บาท

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  1. ผู้ป่วยได้รับการการดูแลอย่างถูกต้อง ปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพ
  2. เจ้าหน้าที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางการตรวจการนอนหลับ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ลดการ Refer out ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติการนอนหลับ
  2. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติการนอนหลับจะได้รับการตรวจวินิจฉัยได้ตามมาตรฐาน รวดเร็ว และปลอดภัย
  3. ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็ว ลดระยะเวลาในการเดินทาง

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายแพทย์สุรศักดิ์ ถิรภัทรพันธ์ ตำแหน่ง อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤติ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี